วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

2.ข้อแตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router

บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

เราเตอร์ (Router)
เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้
เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกว่า "สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล" (Data Switched Packet) โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เชิงความเร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดีโอ ได้ดี
สวิตช์ (Switch)



1.อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง มีหลักการทำงานอย่างไร และใช้ประโยชน์อย่างไร จงยกตัวอย่าง

หน้าที่ของอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล
อุปกรณ์การสื่อสารทำหน้าที่ สอง ประการ คือ ทำการรวมสัญญาณก่อนที่จะถูกส่งเข้าไปในระบบเครือข่าย และ ทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมแก่การถ่ายทอด
อุปกรณ์การสื่อสารทั้ง 10 ชนิด ประกอบด้วย
1.มัลติเพล็กเซอร์
อุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) สามารถรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้ามาใช้งานผ่านสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว นั่นคือที่เครื่องโฮสต์อาจมีพอร์ตเพียงหนึ่งพอร์ตเท่านั้น โดยมีมัลติเพล็กเซอร์ฝังอยู่ภายในตัวเครื่อง แต่สามารถควบคุมเครื่องเทอร์มินอลได้มากมาย
หลักการทำงานของมัลติเพล็กเซอร์
มัลติเพล็กเซอร์หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มักซ์ (MUX) เป็นอุปกรณ์ที่รวบรวมสัญญาณจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ช่องสัญญาณในสายเส้นที่ส่งออกจากมักซ์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อแบ่งปันในการส่งสัญญาณที่รับเข้ามาจากสายสื่อสารเส้นต่าง ๆ มักซ์จะทำงานเป็นคู่เหมือนกับโมเด็มคือจะต้องมีมักซ์ที่ผู้ส่งหนึ่งตัวและอีกหนึ่งตัวอยู่ทางฝั่งผู้รับ ข้อมูลที่รับเข้ามาจากสายสื่อสารทางฝั่งผู้ส่งจะถูกเข้ารหัสแล้วนำมารวมกันเพื่อส่งออกไป มักซ์ที่อยู่ทางฝั่งผู้รับจะถอดรหัสข้อมูลเพื่อส่งออกไปยังสายสื่อสารเส้นที่ถูกต้อง

การนำมัลติเพล็กเซอร์มาใช้จะต้องทำงานเป็นคู่เสมอ โดยมีเครื่องหนึ่งอยู่ทางฝั่งโฮสต์และอีกเครื่องหนึ่งอยู่ทางฝั่งเครื่องเทอร์มินอล วิธีการผสมสัญญาณเกิดขึ้นได้หลายแบบคือ การผสมสัญญาณโดยแบ่งคลื่นความถี่ (FDM) การผสมสัญญาณโดยแบ่งช่วงเวลา (TDM) การผสมสัญญาณโดยแบ่งช่วงเวลาตามสถิติ (STDM) การผสมสัญญาณโดยแบ่งความยาวคลื่น (WDM) ใช้สำหรับสื่อประเภทสาย ส่วนการผสมสัญญาณแบบ FDMA การผสมสัญญาณแบบ TDMA และการผสมสัญญาณแบบ CDMA ใช้ในระบบเครือข่ายไร้สาย

2. คอนเซนเทรเตอร์
คอนเซนเทรเตอร์เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายกับมักซ์ คือ รวมสัญญาณจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว แต่ก็มีความต่างกันในรายละเอียดและวิธีนำมาใช้งาน มักซ์จำเป็นต้องใช้งานเป็นคู่เสมอในขณะที่คอนเซนเทรเตอร์ใช้เพียงเครื่องเดียวและยังมีขีดความสามารถในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้ด้วย ซึ่งมีกลไกหลายขั้นตอนดังนี้

คอนเซ็นเทรเตอร์ถูกออกแบบมาให้ทำงานในลักษณะเดียวกันแต่ทำงานเพียงเครื่องเดียวและมีความซับซ้อนขององค์ประกอบภายในมากกว่า เพราะสามารถทำการประมวลผลบางส่วนได้ด้วยตนเอง และมีหน่วยความจำเป็นของตนเอง เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับคอนเซ็นเทรเตอร์และถูกวางไว้ติดกับเครื่องโฮสต์เสมอ คอนโทรลเลอร์เป็นอุปกรณ์ย่อส่วนของฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานของเทอร์มินอลได้มากถึง 64 เครื่องผ่านทางสายสื่อสารเพียงเครื่องเดียว

3. ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์
ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front-End Processor; FEP) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มักจะวางไว้ที่เดียวกันกับเครื่องโฮสต์ (ห้องเดียวกัน หรือตั้งไว้ติดกัน) แต่ถ้าโฮสต์และเทอร์มินอลอยู่ห่างจากกัน โดยปกติเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์จะมีสายเชื่อมต่อเพียงเส้นเดียวไปยังโฮสต์ ดังนั้น ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์จะถูกวางไว้ที่ฝั่งเครื่องเทอร์มินอลเช่นเดียวกับคอนเซนเทรเตอร์ เนื่องจาก ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งจึงสามารถทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ทั่วไป

4. คอนเวอร์เตอร์

คอนเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนโพรโทคอลในระบบเครือข่าย โดยโหนดแต่ละโหนดในระบบเครือข่ายเดียวกันอาจมีโพรโทคอลหลายอย่างใช้งานอยู่ในเวลาเดียวกันก็ได้ เนื่องจากในระบบเครือข่ายหนึ่ง ๆ ไม่มีข้อบังคับให้ต้องใช้โพรโทคอลแบบเดียวกันทั้งหมด ในกรณีที่ผู้ส่งและ ผู้รับข้อมูลใช้โพรโทคอลแตกต่างกันก็จะมีการเปลี่ยนโพรโทคอลให้เหมือนกันเสียก่อน การสื่อสารจึงจะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งทำงานคล้ายกับล่ามที่รับฟังคำพูดในภาษาหนึ่งจากผู้พูด แล้วตัวล่ามจะแปลคำพูดนั้นไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจ ทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสามารถสนทนากันได้
คอนเวอร์เตอร์ถูกนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่ใช้โพรโทคอลไม่เหมือนกัน เช่น การเชื่อมต่อเครื่องพีซีเข้ากับโฮสต์ โพรโทคอลคอนเวอร์เตอร์นี้อาจเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งหรือเป็นเพียงโปรแกรมก็ได้
5. เกตเวย์
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือเครือข่ายที่มีลักษณะของการเชื่อมต่อ (Connectivity) ของเครือข่ายต่างกันและมีโพรโทคอลสำหรับส่ง–รับข้อมูลต่างกันให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งมักจะติดตั้งไว้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอื่น หรือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ใช้โพรโทคอลต่างชนิดกัน ดังนั้นเกตเวย์จึงทำหน้าที่เป็นคอนเวอร์เตอร์ด้วย

6. เราเตอร์
เราเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลง Package ของเครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้สะดวกรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ภายในเครือข่าย เดียวกัน หรือต่างเครือข่ายกัน การติดต่อข้ามเครือข่ายกัน หรือรวมหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเรียกว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetwork) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกันตามมาตรฐานไอเอสโอเรียกว่า IWU (Inter Working Unit) และอุปกรณ์ IWU ดังกล่าวนี้มี 2 แบบคือเราเตอร์ และบริดจ์
การทำงานของอุปกรณ์เราเตอร์ขณะที่มีการส่ง-รับข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ภายในเครือข่ายเดียวกันจะกระทำกันอยู่ในเลเยอร์ชั้นกายภาพ (Physical Layer) หรือในสายสื่อสาร แต่ในการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายกัน ตำแหน่งของแพ็กเกตข้อมูลจะมีการแปลงรหัสกันในเลเยอร์ชั้นที่ 3 คือชั้นเครือข่าย (Network Layer) ของเครือข่ายนั้น เพื่อจัดเส้นทาง (Router) ของข้อมูลส่งไปยังปลายทางได้ถูกต้องและอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเส้นทาง หรือเราเตอร์นี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์ชั้นเครือข่ายของ เครือข่ายนั้นสามารถทำการเชื่อมต่อเครือข่ายได้มากกว่า 2 เครือข่ายทั้งที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือ ต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน

7. บริดจ์
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของเครือข่ายท้องถิ่นเข้าด้วยกัน บริดจ์ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายแลน 2 เครือข่ายที่มีโพรโทคอลเหมือนกันหรือต่างกัน บริดจ์จะรับแพ็กเกตข้อมูลจากสถานีส่ง ผู้ส่งในเครือข่ายต้นทางทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทาง จากนั้นก็จะส่งแพ็กเกตข้อมูลทั้งหมดนั้นไปยังผู้ใช้เครือข่ายปลายทาง

8. รีพีตเตอร์
รีพีตเตอร์ หรือเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในการส่งสัญญาณข้อมูลระยะทางไกล ๆ สำหรับสัญญาณแอนะล็อก ซึ่งต้องการเครื่องขยายสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ช่วยขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มจะเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง เช่นเดียวกันในการส่งสัญญาณดิจิทัลต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณ เพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งผ่านระยะทางไกลเช่นกัน
9. โมเด็ม
โมเด็ม (Modulator–Demodulator; Modem) มาจากคำย่อของกระบวนการแปลงสัญญาณ ดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อก และการแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล มีหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล โมเด็มบางรุ่นสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลรวมถึงแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ บางรุ่นอาจมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 38,400 บิตต่อวินาที โมเด็มในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีชิปประมวลผล (Processor) และหน่วยความจำ (ROM) อยู่ในตัวเครื่อง

10. อุปกรณ์อื่น ๆ
นอกเหนือจากอุปกรณ์ทั้งหลายที่ได้กล่าวไปแล้ว ระบบเครือข่ายยังประกอบไปด้วยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และเครื่องตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ การเชื่อมต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายแม้ว่าจะเกิดประโยชน์มากมายแต่ก็ทำให้กลายเป็นจุดที่อาจถูกบุกรุกจากบุคคลภายนอกได้โดยง่าย ดังนั้นจึงต้องมีการระวังป้องกันรวมทั้งการตรวจจับผู้บุกรุกในเวลาเดียวกันแม้ว่าจะไม่มีผู้บุกรุก สื่อสารข้อมูลเองก็อาจเกิดข้อผิดพลาดได้อยู่เสมอจึงต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นประจำ ซึ่งมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้


- เครื่องตรวจสอบอุปกรณ์
อุปกรณ์การสื่อสารนอกจากจะส่งข้อมูลออกไปด้วยความปลอดภัยแล้วยังจะต้องส่ง ข้อมูลออกไปอย่างถูกต้องด้วย เนื่องจากความซับซ้อนของอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องตรวจสอบการทำงาน (Diagnostic Equipment) ของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่น อุปกรณ์ตรวจสภาพสายสื่อสาร (Line Monitor) ทำหน้าที่ในการตรวจนับปริมาณข้อมูลที่ถูกส่งออกไปแล้วคำนวณเป็นตัวเลขทางสถิติที่ต้องการ อุปกรณ์นี้อาจจะรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มัลติเพล็กเซอร์ คอนเซ็นเทรเตอร์ คอนโทรลเลอร์ และข้อมูลจากโปรแกรมควบคุมเครือข่าย เพื่อแสดงผลออกทาง หน้าจอ ซึ่งเจ้าหน้าที่เทคนิคสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการค้นหาจุดบกพร่องหรืออุปกรณ์ที่เสียหายได้

- อุปกรณ์รวมพอร์ตและเลือกพอร์ต
ในกรณีที่จำเป็นต้องต่ออุปกรณ์หลายชนิดเข้ากับโฮสต์ที่อาจมีจำนวนพอร์ตไม่เพียงพอก็อาจใช้อุปกรณ์รวมพอร์ต (Port Concentrator) ช่วยได้ โดยการนำมัลติเพล็กเซอร์มาเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์เข้ากับเทอร์มินอลจำนวน 4 เครื่อง ทางด้านโฮสต์จะต้องมีพอร์ตจำนวน 4 พอร์ตเท่ากับจำนวนเทอร์มินอล แต่ในกรณีนี้โฮสต์มีพอร์ตเพียงพอร์ตเดียว จึงต้องใช้อุปกรณ์รวมพอร์ตมาเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์เข้ากับมัลติเพล็กเซอร์