วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

2.นศ.ใช้โพรโตคอลอะไรบ้าง จงอธิบายว่าทำอะไร

1.ปัจจุบันบริษัทที่ทำงานใช้โพรโทคอล TCP/IP
2.การทำงานของโพรโทคอล TCP/IP
โพรโทคอลทีซีพี-ไอพีประกอบด้วยชั้นสื่อสาร 5 ชั้น ประกอบด้วย โพรโทคอลหลักสองชนิด คือ
1.โพรโทคอลทีซีพี (Transmission Control Protocol; TCP) ทำงานในระดับชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล จึง รับผิดชอบในระดับผู้ส่ง-ถึง-ผู้รับ (End-to-End) คือ รับผิดชอบในการนำส่งข้อมูลไปให้ถึงผู้รับด้วยการเตรียมวิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลผิดเพี้ยน การจัดลำดับข้อมูลที่นำส่งและรับเข้ามาได้อย่าง ถูกต้องและจัดการควบคุมการส่ง-การรับข้อมูลให้เป็นไปอย่างเหมาะสม (Flow Control)
2.โพรโทคอลไอพี (Internet Protocol; IP) จะทำงานในระดับชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย จัดการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยให้สามารถใส่เข้าไปในแพ็กเกต และกำหนดที่อยู่บนระบบเครือข่ายของทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูล
ระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี สามารถส่งข้อมูลได้ทุกขนาด แต่ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่จะต้องถูกแบ่งออกเป็นหลายแพ็กเกต การสร้างเฟรมข้อมูล เริ่มต้นด้วยการแบ่งข้อมูลออกเป็นขนาดที่เหมาะสม ข้อมูลในส่วนของทีซีพี (TCP Header) ซึ่งบอกข่าวสารเกี่ยวกับการควบคุมการนำส่ง จะถูกเพิ่มเติมเข้าไปที่ส่วนหัวของแพ็กเกตรวมเรียกว่า TCP Segment ซึ่งจะถูกส่ง ต่อไปให้โปรแกรมไอพี ข้อมูลส่วนหัวของไอพี (IP Header) ก็จะถูกเพิ่มเข้าไปอีกซึ่งจะเรียกว่า IP Datagram ท้ายที่สุดโปรแกรมในชั้นควบคุมเครือข่ายจะจัดการเพิ่มข้อมูลควบคุมระดับเครือข่ายเข้าไปกลายเป็นแพ็กเกตที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้ว การทำงานของโพรโทคอลทีซีพี-ไอพี จะเรียกว่าเป็นการใส่ข้อมูลเข้าไปในช่องสื่อสาร (Envelope) สองชั้น ชั้นแรกเป็นซองสื่อสารของโพรโทคอลทีซีพี เรียกว่า TCP Envelope ซึ่งจะบรรจุข้อมูลขนาดที่เหมาะสม รวมทั้งข้อมูลควบคุมต่าง ๆ เช่น วิธีตรวจและจัดการข้อมูลผิดเพี้ยน หมายเลขลำดับ และที่อยู่บนระบบเครือข่ายของผู้รับ จากนั้นซองชั้นที่สองซึ่งเป็นซองสื่อสารของโพรโทคอลไอพี เรียกว่า ไอพีอีเวอร์โรป (IP Envelope) จะกำหนดที่อยู่ของโหนดที่รับแพ็กเกตนี้ (อาจเป็นโหนดผู้รับหรือโหนดที่จะต้องช่วยส่งผ่านแพ็กเกตนี้ต่อไป) ซึ่งอยู่บนเส้นทางเดินข้อมูล (Route) ที่ต้องการ แพ็กเกตทีซีพี-ไอพีก็พร้อมที่จะถูกส่งออกไประบบเครือข่าย

1.โพรโทคอลมีอะไรบ้าง และแต่ละโพรโทคอลมีหน้าที่ทำอะไร

ความหมายของโพรโทคอล
โพรโทคอล (Protocol) หมายถึง กฎระเบียบที่ใช้กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คู่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจใช้รหัสแทนข้อมูลแตกต่างกัน และ/หรือมีกระบวนการทำงานแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีตัวกลางหรือวิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์หมดไป ซึ่งจะทำให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางนี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
1. โพรโทคอลมีกี่ชนิดและแต่ละชนิดมีหน้าที่อะไร
1. NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)
เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบ เครือข่ายขนาดเล็ก เนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วทั้งเครือข่ายไม่สามารถหาเส้นทาง (route) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้ ข้อดีของโปรโตคอลนี้คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. IPX/SPX (Internet Packet Exchange)
เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปใช้กับระบบเครือข่ายของ Netware โปรโตคอลนี้มีความสามารถในการหาเส้นทางได้ แต่ก็ไม่ดีเท่ากับ TCP/IP ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กถึงระดับกลางเท่านั้น ปัจจุบันNetwareได้พัฒนาความสามารถจนสามารถรองรับเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีโปรโตคอลให้เลือกใช้หลากหลายขึ้น
3. TCP/IP (Transfer Control Protocol/ Internet Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเครือข่ายขนาดใหญ่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูล จึงถูกใช้เป็นโปรโตคอลหลักใ น เ ค รือ ข่า ย อิน เ ท อ ร์เ น็ต ข้อ เ สีย ข อ งโปรโตคอลนี้ คือ ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP การกำหนด IP Addressอีกทั้งจะต้องมีการปรับแต่งค่าต่าง ๆ หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่าย
4.โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร
เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม ซึ่งกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน
5. โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์
โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ (Byte-Count-Oriented Protocols) ปรับปรุงประสิทธิภาพของโพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรพิเศษโดยการเพิ่มข้อมูล จำนวนไบต์ของข้อมูลในบล็อก หมายเลขที่อยู่บนเครือข่าย และตัวอักษรควบคุมบล็อกเข้าไปแทน
6.โพรโทคอลจัดการระดับบิต
โพรโทคอลจัดการระดับบิต (Bit-Oriented Protocols) เป็นแนวทางการทำงานที่รวมข้อมูลจริงและข้อมูลควบคุมเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างเรียกว่าเฟรม (Frame) ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วนออกไปใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้กำหนดโพรโทคอลประเภทนี้ขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
7.โพรโทคอลเอสเอ็นเอ
รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA) เป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้น เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมีบริษัทอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ได้นำระบบเครือข่ายนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านั้นสามารถติดต่อกับระบบเครือข่ายของไอบีเอ็มและของผู้อื่นได้ ปัจจุบันระบบเอสเอ็นเอยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีระบบเครือข่ายอื่นที่ดีเกิดขึ้นมากมาย

8.โพรโทคอล H.323

การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้
9.โพรโทคอล X.25

คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25 ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับ