ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology) ใช้สายสื่อสารเส้นหนึ่งเป็นแกนหรือสายสื่อสารหลักหรือบัส เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชนิดเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ที่ปลายสายทั้งสองข้างจะมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้เรียกว่า หมวกหรือหัวปิดสาย (Terminator) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) ซึ่งจะย้อนกลับไปทำให้สัญญาณข้อมูลจริงเสียหาย ข้อแตกต่างที่สำคัญจากระบบเครือข่ายวงแหวนคือ ที่ปลายสายของระบบบัสไม่ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะถูกส่งออกไปตลอดทั่วสายทั้งเส้น
วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
4.ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน
ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology) ถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกับเครื่องผู้ใช้ที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งเมื่อต่อถึงกันหมดแล้วจะกลายเป็นวงจรปิดรูปวงแหวน ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในระบบเครือข่ายเรียกว่า Message จะถูกส่งไปในทิศทางเดียวกันเสมอเครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องที่รับข้อมูลเข้ามาจะเก็บข้อมูลนั้นไว้ในกรณีที่เป็นข้อมูลของตนเองเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะต้องส่ง ข้อมูลเดิมไปยังเครื่องในลำดับต่อไป ส่วนเครื่องที่เป็นผู้รับข้อมูล (Receiver) จะส่งข้อมูลตอบรับ (Acknowledgement) ออกมาแทนที่ข้อมูลเดิม โดยผู้ที่ส่งข้อมูลออกมา (Sender) นั้นจะกลายเป็นผู้รับ ข้อมูลตอบรับ หลังจากนั้นผู้อื่นจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้
เครื่องผู้ใช้ในระบบเครือข่ายมีสองสถานะคือ แอกทีฟ และอินแอกทีฟ เครื่องในสถานะที่แอกทีฟ (Active Station) คือเครื่องผู้ใช้ที่กำลังทำงานตามปกติ ซึ่งสามารถรับและส่งข้อมูลได้ ในขณะนั้น ส่วนเครื่องในสถานะอินแอกทีฟ (Inactive Station) เป็นเครื่องที่ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากเครื่องนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือไม่ได้เปิดใช้งานในขณะนั้นระบบเครือข่ายแบบวงแหวนใช้มาตรฐาน IEEE 802.5
เครื่องผู้ใช้ในระบบเครือข่ายมีสองสถานะคือ แอกทีฟ และอินแอกทีฟ เครื่องในสถานะที่แอกทีฟ (Active Station) คือเครื่องผู้ใช้ที่กำลังทำงานตามปกติ ซึ่งสามารถรับและส่งข้อมูลได้ ในขณะนั้น ส่วนเครื่องในสถานะอินแอกทีฟ (Inactive Station) เป็นเครื่องที่ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากเครื่องนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือไม่ได้เปิดใช้งานในขณะนั้นระบบเครือข่ายแบบวงแหวนใช้มาตรฐาน IEEE 802.5
3.รูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์
ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณกำหนดรูปแบบการวางและเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของระบบเครือข่ายกับพื้นที่ติดตั้งใช้งานเป็นหลัก โดยจะเน้นในเรื่องความเร็วในการใช้งาน และความสะดวกในการปรับปรุงหรือขยายขีดความสามารถในอนาคตขึ้น รูปแบบการวางและเชื่อมต่ออุปกรณ์จะต้องมีความอ่อนตัว ในการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
2.มาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณได้รับความแพร่หลายในการนำไปใช้งานเป็นอย่างมาก จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานไว้เพื่อให้ระบบต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ องค์กร IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า มาตรฐาน IEEE 802 ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนย่อยสำหรับระบบเครือข่ายแต่ละชนิด
มาตรฐานเหล่านี้ได้กำหนดวิธีการที่เครื่องผู้ใช้ติดต่อกับสื่อ กำหนดคุณสมบัติของสื่อและความเร็วในการรับและส่งข้อมูลผ่านสื่อนั้น มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ เช่น มาตรฐาน 802.11 กล่าวถึงมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ส่วน 802.12 เป็นมาตรฐานเรียกว่า AnyLAN ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูง ( ไม่เกิน 100 Mbps) ที่ใช้สื่อประเภทสายใยแก้วนำแสงหรือสายยูทีพีระดับชั้นที่ 5
มาตรฐานเหล่านี้ได้กำหนดวิธีการที่เครื่องผู้ใช้ติดต่อกับสื่อ กำหนดคุณสมบัติของสื่อและความเร็วในการรับและส่งข้อมูลผ่านสื่อนั้น มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ เช่น มาตรฐาน 802.11 กล่าวถึงมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ส่วน 802.12 เป็นมาตรฐานเรียกว่า AnyLAN ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูง ( ไม่เกิน 100 Mbps) ที่ใช้สื่อประเภทสายใยแก้วนำแสงหรือสายยูทีพีระดับชั้นที่ 5
1.ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ว่ามีอะไรบ้างและมีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร
ฮาร์ดแวร์สำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณมีส่วนประกอบหลักสามส่วนคือ เครื่องพีซี (Personal Computer) อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface Card or Adapter Card) และสื่อถ่ายทอดสัญญาณ (Transmission Medium) เครื่องพีซีบางส่วนอาจทำหน้าที่พิเศษในขณะที่ส่วนที่เหลือทำหน้าที่สำหรับการใช้งานทั่วไป
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี (Personal Computer; PC) สามารถนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายนั้นเครื่องพีซีที่จะนำมาใช้นั้นจะต้องมีช่องสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเรียกว่า Expansion Slot หรือ Adapter Slot เพื่อนำมาใช้สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
เครื่องพีซีจะถูกนำมาใช้ในสองบทบาทคือ เป็นเครื่องทำงานหรือเครื่องผู้ใช้ (Work Station or Client) ซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำงานโดยลำพังและติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นผ่านระบบเครือข่ายได้ ส่วนอีกบทบาทเป็นผู้ให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ เช่น การใช้ข้อมูลประมวลผลความต้องการของผู้ใช้ที่ส่งมาจากเครื่องผู้ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์งานช่วยติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอื่นประมวลผลซอฟต์แวร์บริหาร จัดการเครือข่าย และบริการรับส่งแฟกซ์
เครื่องพีซีจะถูกนำมาใช้ในสองบทบาทคือ เป็นเครื่องทำงานหรือเครื่องผู้ใช้ (Work Station or Client) ซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำงานโดยลำพังและติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นผ่านระบบเครือข่ายได้ ส่วนอีกบทบาทเป็นผู้ให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ เช่น การใช้ข้อมูลประมวลผลความต้องการของผู้ใช้ที่ส่งมาจากเครื่องผู้ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์งานช่วยติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอื่นประมวลผลซอฟต์แวร์บริหาร จัดการเครือข่าย และบริการรับส่งแฟกซ์
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface Card or Adapter Card) ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครื่องพีซีเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (Expansion Bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้สื่อถ่ายทอดสัญญาณ (Transmission Medium) ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันและถ่ายทอดสัญญาณไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น ตัวอย่างสื่อถ่ายทอดสัญญาณที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair) สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และอากาศ (สำหรับถ่ายทอดสัญญาณคลื่นวิทยุ) เป็นต้น ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณส่วนใหญ่นิยมใช้สายคู่บิดเกลียวและสายโคแอกเซียล เนื่องจากเป็นสื่อที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ราคาถูก และสามารถติดตั้งใช้งานได้ง่าย สายใยแก้วนำแสงมีคุณภาพดีที่สุดแต่ก็ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง มีข้อจำกัดมาก และราคาแพงมาก จึงนิยมนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายหรือใช้เป็นช่องสื่อสารหลัก (Backbone) สำหรับระบบเครือข่ายบางแห่ง
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างมากโดยเฉพาะในองค์กรสมัยใหม่ที่มีอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก) เป็นจำนวนมาก จุดเด่นของระบบเครือข่ายไร้สายคือ การที่ไม่ใช้สายสื่อสารทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก และไม่มีความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินสายสื่อสารไปตามจุดต่าง ๆ หรือปัญหา สายสื่อสารชำรุด การสื่อสารไร้สายสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้คลื่นวิทยุธรรมดา คลื่นวิทยุเซลลูลาร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุแบบสเปรดสเปกตรัม อินฟราเรด และเลเซอร์ เป็นต้น
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างมากโดยเฉพาะในองค์กรสมัยใหม่ที่มีอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก) เป็นจำนวนมาก จุดเด่นของระบบเครือข่ายไร้สายคือ การที่ไม่ใช้สายสื่อสารทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก และไม่มีความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินสายสื่อสารไปตามจุดต่าง ๆ หรือปัญหา สายสื่อสารชำรุด การสื่อสารไร้สายสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้คลื่นวิทยุธรรมดา คลื่นวิทยุเซลลูลาร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุแบบสเปรดสเปกตรัม อินฟราเรด และเลเซอร์ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)