วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
2.การบริหารระบบเครือข่ายไร้สายและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง จงสรุป
- ดีเอสเอสเอส (Direct Sequence Spread Spectrum; DSSS) ซึ่งใช้วิธีการส่งสัญญาณผ่านหลายคลื่นความถี่พร้อมกันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูง
- เอฟเอชเอสเอส (Frequency Hopping Spread Spectrum; FHSS) ใช้การส่งข้อมูลหลายความถี่แต่ไม่ได้ใช้ความถี่ทั้งหมดพร้อมกัน
- เทคโนโลยีการส่งสัญญาณด้วยแสงอินฟราเรด
ปริมาณข้อมูลในระบบเครือข่าย
เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายกับระบบอินเทอร์เน็ต
เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายทั่วไป
- การแบ่งประเภทเครื่องมือตรวจสอบระบบเครือข่าย
- ซอฟต์แวร์บริหารอุปกรณ์
1.วัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย มีอะไรบ้าง จงสรุป
3.บริการอี่นๆ บนระบบเครือข่าย
การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
2.วิธีการทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
สำหรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถแบ่งออกเป็
น 2 วิธีหลักๆ ได้แก่ การหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและวิธีการเชื่อมต่อโดยตรง ทั้งสองวิธีนั้นทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ บริการต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ยกตัวอย่างเช่น บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บริการเข้าใช้ระบบระยะไกล บริการโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล บริการค้นหาข้อมูล หรือบริการ สนทนาออนไลน์ เป็นต้น
บริการบนอินเตอร์เน็ตอีกหนึ่งบริการที่ถือว่าได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ บริการเวิลด์ไวด์เวบ ซึ่งเป็นบริการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งปัจจุบันสามารถนำเสนอ ในระบบมัลติมีเดียร่วมด้วยได้ รวมเรียกว่าเป็น "ระบบไฮเปอร์มีเดีย" ทำให้บริการเวิลด์ไวด์เวบได้รับความนิยมอย่างสูง เวิลด์ไวด์เวบใช้สถาปัตยกรรมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบ Client/Server ผู้ใช้จะระบุข้อมูลที่ต้องการผ่านโปรแกรมเวบบราวเซอร์ซึ่งจะทำการร้องขอไปยังเวบเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรโตคอล HTTP เมื่อเวบเซิร์ฟเวอร์ได้รับการร้องขอก็จะส่งข้อมูล ที่ต้องการกลับมาให้เวบบราวเซอร์เพื่อแสดงแก่ผู้ใช้
ด้วยลักษณะเด่นและบริการที่น่าสนใจของบริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทำให้หน่วยงาน และบริษัทต่างๆ สนใจที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในเครือข่าย นอกจากนี้ยังมีบริษัทหลายแห่ง ใช้อินเตอร์เน็ตในการทำการค้าซึ่งเรียกว่า "การพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์" ทำให้จำนวนเวบไซต์เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่เร็วรวดมาก ทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ทั้งในด้านการทำธุรกิจ การศึกษา การบันเทิง เนื่องด้วยเพราะจำนวนข้อมูล และผู้ใช้งานซึ่งมีจำนวนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ
1.คำสั่งของระบบอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
เทลเน็ต (Telnet) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีคำสั่งสำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อกับโฮสต์เครื่องอื่นผ่านระบบเครือข่ายทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่โฮสต์เครื่องนั้นได้เหมือนกับว่าผู้ใช้กำลังนั่งทำงานอยู่กับโฮสต์เครื่องนั้น
รูปแบบการใช้เทลเน็ต คือ “telnet
เอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย เดิมคำสั่งนี้เป็นการทำงานแบบ Command Line เช่นเดียวกับคำสั่งเทลเน็ต ปัจจุบันโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้ซ่อนคำสั่งนี้ไว้ภายในตัวเอง เวลาที่ผู้ใช้ทำการรับหรือส่งแฟ้มข้อมูลโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็จะเรียกใช้คำสั่งเอฟทีพีให้โดยอัตโนมัติ
การใช้คำสั่งเอฟทีพีคล้ายกับคำสั่งเทลเน็ต คือ FTP
2.รูปแบบโครงสร้าง(Topology) ระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบายและบอกข้อดี ข้อเสียของแต่ละประเภท
1.รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น
ระบบเครือข่ายที่มีเครื่องเมนเฟรมเป็นองค์ประกอบหลักมักจะมีการจัด โครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical Topology) ซึ่งมีเครื่องโฮสต์อยู่ที่ตำแหน่งบนสุด เรียกว่า ราก (Root) ของโครงสร้างนี้ เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front End-processors) ถูกวางอยู่ใน ระดับรองลงมา คอนโทรลเลอร์ (Controller) และมัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) อยู่ในระดับต่อลงมา โดยมีเทอร์มินอลทั้งหมดอยู่ที่ระดับล่างสุดของโครงสร้าง
ข้อดีของการจัดโครงสร้างเป็นแบบหลายระดับชั้น
- สามารถตอบสนองการทำงานกับเครื่องเมนเฟรมได้เป็นอย่างดีเนื่องจากอุปกรณ์ที่อยู่ในระดับกลางจะรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งมายังโฮสต์ซึ่งโฮสต์สามารถใช้เวลาในช่วงนี้ไปทำงานอื่นได้
- สามารถแบ่งแยกการทำงานของอุปกรณ์ในระบบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เช่น เมื่อเครื่องคอนโทรลเลอร์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะไม่มีผลกระทบไปยังการทำงานของอุปกรณ์ตัวอื่น นอกจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น
2.รูปแบบโครงสร้างแบบดาว
รูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบอุปกรณ์ทั้งหมดจะเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง ในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอ
ข้อเสีย
- การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้น
- หากคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางหยุดทำงาน ระบบจะใช้การไม่ได้ทั้งระบบ ซึ่งอาจจะใช้วิธีจัดตั้งอุปกรณ์ที่ศูนย์กลางแบบซ้ำซ้อน คือ มีอยู่สองเครื่อง โดยปกติจะใช้เครื่องหลักทำงาน ถ้าเครื่องหลักไม่สามารถทำงานได้ก็จะสลับมาใช้เครื่องสำรองให้ทำงานต่อไปได้ในทันที
3.รูปแบบโครงสร้างแบบวงแหวน
โครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) ส่วนใหญ่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แต่ก็สามารถใช้กับระบบเครือข่ายใหญ่ได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ กันจะถูกเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด ไปยังเซิร์ฟเวอร์ข้างเคียง และเชื่อมต่อกันไปตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระดับสุดท้ายจะเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ลำดับแรก ทำให้เชื่อมต่อครบเป็นวงจรรูปแบบวงแหวน
1.รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบายและบอกข้อดี ข้อเสียของแต่ละประเภท
การเชื่อมโยงแบบ MAN ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่าง ๆ การเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสงและเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันที
การเชื่อมต่อ พื้นฐานมีอยู่สองแบบ คือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบเชื่อมต่อหลายจุด
1.การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด
(Point-to-Point Connection) เป็นเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในหลายแบบคือ
-การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องเมนเฟรมในกรณีที่สามารถเชื่อมต่อได้และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไป
- การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลบางเครื่องกับเครื่องเมนเฟรมเมื่อเทอร์มินอลอยู่ไกลออกไปมาก
- การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระบบ ผู้บริหารเครือข่าย หรือโปรแกรมเมอร์ มักจะใช้เทอร์มินอลที่อยู่ใกล้กับเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล (Console Terminal)
1.สามารถส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก รวดเร็ว
2.สายสื่อสารแต่ละเส้นมีเทอร์มินอลเพียงเครื่องเดียว โฮสต์จึงทราบตลอดเวลาว่าเทอร์มินอลใดติดต่อเข้ามา และสามารถส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้เสมอ
3.ค่าใช้จ่ายสูง
การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Connections)
1.ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุด
วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
5.ระบบเครือข่ายแบบบัส
4.ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน
เครื่องผู้ใช้ในระบบเครือข่ายมีสองสถานะคือ แอกทีฟ และอินแอกทีฟ เครื่องในสถานะที่แอกทีฟ (Active Station) คือเครื่องผู้ใช้ที่กำลังทำงานตามปกติ ซึ่งสามารถรับและส่งข้อมูลได้ ในขณะนั้น ส่วนเครื่องในสถานะอินแอกทีฟ (Inactive Station) เป็นเครื่องที่ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากเครื่องนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือไม่ได้เปิดใช้งานในขณะนั้นระบบเครือข่ายแบบวงแหวนใช้มาตรฐาน IEEE 802.5
3.รูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์
2.มาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
มาตรฐานเหล่านี้ได้กำหนดวิธีการที่เครื่องผู้ใช้ติดต่อกับสื่อ กำหนดคุณสมบัติของสื่อและความเร็วในการรับและส่งข้อมูลผ่านสื่อนั้น มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ เช่น มาตรฐาน 802.11 กล่าวถึงมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ส่วน 802.12 เป็นมาตรฐานเรียกว่า AnyLAN ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูง ( ไม่เกิน 100 Mbps) ที่ใช้สื่อประเภทสายใยแก้วนำแสงหรือสายยูทีพีระดับชั้นที่ 5
1.ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ว่ามีอะไรบ้างและมีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร
เครื่องพีซีจะถูกนำมาใช้ในสองบทบาทคือ เป็นเครื่องทำงานหรือเครื่องผู้ใช้ (Work Station or Client) ซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำงานโดยลำพังและติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นผ่านระบบเครือข่ายได้ ส่วนอีกบทบาทเป็นผู้ให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ เช่น การใช้ข้อมูลประมวลผลความต้องการของผู้ใช้ที่ส่งมาจากเครื่องผู้ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์งานช่วยติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอื่นประมวลผลซอฟต์แวร์บริหาร จัดการเครือข่าย และบริการรับส่งแฟกซ์
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างมากโดยเฉพาะในองค์กรสมัยใหม่ที่มีอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก) เป็นจำนวนมาก จุดเด่นของระบบเครือข่ายไร้สายคือ การที่ไม่ใช้สายสื่อสารทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก และไม่มีความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินสายสื่อสารไปตามจุดต่าง ๆ หรือปัญหา สายสื่อสารชำรุด การสื่อสารไร้สายสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้คลื่นวิทยุธรรมดา คลื่นวิทยุเซลลูลาร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุแบบสเปรดสเปกตรัม อินฟราเรด และเลเซอร์ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553
2.นศ.ใช้โพรโตคอลอะไรบ้าง จงอธิบายว่าทำอะไร
2.การทำงานของโพรโทคอล TCP/IP
1.โพรโทคอลทีซีพี (Transmission Control Protocol; TCP) ทำงานในระดับชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล จึง รับผิดชอบในระดับผู้ส่ง-ถึง-ผู้รับ (End-to-End) คือ รับผิดชอบในการนำส่งข้อมูลไปให้ถึงผู้รับด้วยการเตรียมวิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลผิดเพี้ยน การจัดลำดับข้อมูลที่นำส่งและรับเข้ามาได้อย่าง ถูกต้องและจัดการควบคุมการส่ง-การรับข้อมูลให้เป็นไปอย่างเหมาะสม (Flow Control)
2.โพรโทคอลไอพี (Internet Protocol; IP) จะทำงานในระดับชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย จัดการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยให้สามารถใส่เข้าไปในแพ็กเกต และกำหนดที่อยู่บนระบบเครือข่ายของทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูล
1.โพรโทคอลมีอะไรบ้าง และแต่ละโพรโทคอลมีหน้าที่ทำอะไร
1. NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)
4.โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร
7.โพรโทคอลเอสเอ็นเอ
8.โพรโทคอล H.323
การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้
9.โพรโทคอล X.25
คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25 ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับ